วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง


http://www.edtechno.com กล่าวว่า สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนมีส่วนประกอบสำคัญต้องคำนึงถึงการออกแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการนำเสนอไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโครงร่าง เนื้อหา ข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนที่เรียกว่า รูปแบบหลักรวมทั้งการออกแบบและศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียนตามความรู้ ประสบการณ์และรูปแบบของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การออกแบบระบบที่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบหลัก รูปแบบของผู้เรียนที่เรียกว่า รูปแบบการปรับตัว

http://www.imager.minint.multiplycont.com รูปแบบของสื่อหลายมิติมีลักษณะของการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหา ข้อมูลในมิติอื่นๆได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา เพราะข้อมูลหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยๆ เป็นตอนๆ

http://www.learrers.in.th สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้นโดยนำเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวและเสียงต่างๆลงไปในบทเรียนหลายมิติ นักเรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการได้

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ ( 2546:44 ) กล่าวว่า การบูรณาการสื่อหลายมิติเพื่อการเรียนการสอนเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและสามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้ในการศึกษาสื่อหลายมิติ สื่อหลายมิติกระตุ้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการเรียน สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย

สรุปได้ว่า
รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วย เนื้อหา ข้อมูลนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนของสื่อหลายมิติและเรียกรูปแบบนี้ว่า รูปแบบการปรับตัว และได้ออกแบบรูปแบบการปรับตัวให้สอดคล้องกับรูปแบบของผู้เรียนมากยิ่งขึ้นและรูปแบบสื่อหลายมิติมีลักษณะของการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว

อ้างอิง
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. ( 2546) Multimedia ฉบับพื้นฐาน,บริษัท เคทีพีคอมพ์,กรุงเทพมหานคร

http://www.edtechno.com

http://www.learners.in.th

http://www.imnint.multiplycontent.com
9. สื่อประสมคืออะไร


วาสนา ควรหาเวช ( 2533:11 ) กล่าวว่า สื่อประสมหมายถึง การนำหลายอย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์มีคุณค่าและส่งเสริมซึ่งกันและกัน อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่อเกิดความเข้าใจลึกซึ้งและป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันได้ค้นพบวิธีการที่เรียนในสื่อที่ต้องการได้โดยตนเองมากยิ่งขึ้น

ผ.ศ.ดร. วารินทร์ รัศมีพรหม ( 2531:108 ) กล่าวว่า การรวมเอาสื่อแต่ละชนิดหรือรูปแบบของสื่อนั้นๆให้บูรณาการเข้าด้วยกันมีโครงสร้างที่ดีและมีระบบในการนำเสนอสื่อแต่ละชนิดจะต้องออกมาเพื่อเสริมสื่อชนิดอื่นๆ เพื่อทำให้ระบบสื่อประสมอันเป็นผลรวมนั้นมีค่ายิ่งขึ้น

วรวิทย์ นิเทศศิลป์ ( 2551:23 ) กล่าวว่า การนำสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันและมีคุณค่าในตัวของมันเอง สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สื่อบางชนิดใช้ให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจะช่วยให้ตัวผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน

สรุปได้ว่า
สื่อประสมคือ การนำเอาสื่อที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์กันมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และให้บูรณาการเข้ากับเนื้อหาและวิชาที่เรียนที่สอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
วรวิทย์ นิเทศศิลป์. ( 2551 ) สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้,บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด,ปทุมธานี

วารินทร์ รัศมีพรหม. ( 2531 ) สื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย,โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,กรุงเทพมหานคร

วาสนา ชวนหาเวช. ( 2533 ) สื่อการเรียนการสอน,สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,กรุงเทพมหานคร
8. สื่อการสอนคืออะไร


วาสนา ชวนหาเวช ( 2533:112 ) ได้ให้ทัศนะว่า สื่อการสอนหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนส่งหรือสามารถถ่ายถอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยมและทัศนะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ )

ผ.ศ. ดร. ชาญชัย ยมดิษฐ์ ( 2548:417 ) สื่อการสอนหมายถึง ตัวกลางเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจระหว่างสารของผู้สอนส่งไปยังผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดไว้

วรวิทย์ นิเทศศิลป์ ( 2543:12 ) สื่อการสอนคือ วัสดุ อุปกรณ์หรืออาจจะเป็นตัวกลางการถ่ายทอดในการสื่อความหมายเพื่อให้รับรู้ผู้ส่งสารและรับสารมีความเข้าใจที่ตรงกัน

สรุปได้ว่า
สื่อการสอนคือ ตัวกลางการเชื่อมโยงความรู้ความใจระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนและยังมีวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
ชาญชัย ยมดิษฐ์. ( 2548 ) เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย,บริษัทหลักพิมพ์ จำกัด,กรุงเทพมหานคร

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. ( 2543 ) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

วาสนา ชวนหาเวช. ( 2533 ) สื่อการเรียนการสอน,สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,กรุงเทพมหานคร
7. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร


พรชัย สิงห์แก้ว ( 2546:71 ) กล่าวว่า มีบทบาทต่อการพัฒนานโยบายการวางแผนและพัฒนาการศึกษา เพราะกระบวนการบริหารย่อมมีระบบสารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญในทุกขั้นตอนการที่จะพัฒนาต้องมีการกระจายการบริหารด้านการศึกษาให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุดจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

คอมพิวเตอร์นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในกิจการสารสนเทศเนื่องจากนำมาเสนอข้อมูลได้อย่างถูกต้องรวดเร็วมีประสิทธิภาพและสามารถเก็บข่าวสารข้อมูลต่างๆได้ คอมพิวเตอร์มีบทบาทในทุกสถานที่ เช่น คอมพิวเตอร์ใช้ในการศึกษาหาความรู้

http://forum.datatan.net/index กล่าวว่า การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือตลอดจนเทคนิคต่างๆนำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนเข้ามาช่วยสอนเรียกกันทั่วไปว่าบทเรียน CAI โปรแกรมช่วยสอนเหมาะสำหรับการศึกษาด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถตอบโต้กับบทเรียนได้ตลอดและมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้บทเรียนได้อย่างถูกต้องและเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ

- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บแป้นหลัก เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลาการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ เรียกว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ

- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือ การเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอมจึงเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง

- วิดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึง การประชุมทางจอภาพโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่และห่างไกลกันโดยใช้สื่อด้านมัลติมิเดียทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถมองเห็นภาพและเสียงได้

- ระบบวิดิโอออนดีมานด์ เป็นระบบใหม่ที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ระบบนี้จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาผู้เรียนสามารถเลืกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

กิดานันท์ มลิทอง ( 2543:13 ) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเริ่มวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการสื่อสารและกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อให้หน่วยงานทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาได้ให้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่จนสามารถตอบสนองความต้องการในการค้นคว้าข้อมูลได้เป็นอย่างดี

สรุปได้ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้างและแต่และอย่างเป็นอย่างไร คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้เข้ากับการเรียนการสอนและอินเทอร์เน็ตจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อตอบสนองความต้องการในการค้นคว้าข้อมูลและการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการสอน เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสอนมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. ( 2543 ) เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม,พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร

พรชัย สิงห์แก้ว. ( 2546 ) การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนมัธยมตอนปลาย,วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาวิทยาลัยรามคำแหง,กรุงเทพมหานคร

http://forum.datatan.net/index
6. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงอะไร


http://web.ku.ac.th เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน และการสื่อสารข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล

www.paitoon-srifa.com/moodle เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและประมวลให้เกิดผลลัพธ์

สหชาติ สรรพคุณ ( 2550:3 ) เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับเพื่อช่วยในการสื่อสาร การส่าผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกเร็วมากขึ้น

สรุปได้ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลของข้อมูลเพื่อที่จะให้เกิดระบบสารสนเทศและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

อ้างอิง
สหชาติ สรรพคุณ. ( 2550 ) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต,พิมพ์ครั้งที่ 3 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ,กรุงเทพมหานคร

http://web.ku.ac.th

www.paitoon-srifa.com/moodle
5. เทคโนโลยีหมายถึงอะไร


สมบูรณ์ สงวนญาติ ( 2534:16 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีหมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ให้เกิดเป็นระบบที่ดีซึ่งสามารถนำเอาไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เปรื่อง กิจรัตน์กร ( 2539:6-7 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีคือ การศึกษาถึงกระบวนการเทคนิคต่างๆที่มนุษย์ริเริ่มคิดค้นนำไปใช้เพื่อความอยู่รอด

ผศ.ดร.วารินทร์ รัศมีพรหม ( 2531:2 ) ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า อุปกรณ์หรือวัสดุที่เป็นผลผลิตจาการใช้กระบวนการด้านเทคโนโลยี

บุญเกื้อ ควรหาเวช ( 2542:39 ) เทคโนโลยีหมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

สรุปได้ว่า
เทคโนโลยีหมายถึง การนำเอาความรู้ อุปกรณ์ เครื่องมือและวัสดุนำมาประยุกต์ให้เกิดเป็นระบบมีผลผลิตที่ดีนำไปแก้ปัญหาและให้บรรลุเป้าหมาย ได้นำเอาความรู้ทางด้านต่างๆใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้หลายด้านอีกด้วย

อ้างอิง
บุญเกื้อ ควรหาเวช. ( 2542 ) นวัตกรรมการศึกษา,กรุงเทพมหานคร,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วารินทร์ รัศมีพรหม. ( 2531 ) สื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย,ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา,กรุงเทพมหานคร

สมบูรณ์ สงวนญาติ. ( 2534 ) เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน,หน่วยศึกษานิเทศ,กรมการฝึกหัดครู,กรุงเทพมหานคร

เปรื่อง กิจรัตน์ภร. ( 2539 ) เทคโนโลยีการศึกษาสู่การปฏิบัติ,กรมวิชาการ กรมศึกษาธิการ,
กรุงเทพมหานคร
4. นวัตกรรมการศึกษา คืออะไร


สมหญิง เจริญจิตรกรรม ( 2525:48 ) กล่าวว่า ความคิดและการกระทำใหม่ๆทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บุญเกื้อ ควรหาเวช ( 2542:14 ) ให้ความหมายว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนสิ่งที่มี อยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

ดร. อริศรา ชูชาติ ( 2549:19 ) นวัตกรรมการศึกษาคือ ความใหม่ในด้านการศึกษาอาจเป็นแนวคิดใหม่ๆทางการศึกษาและเป็นทฤษฏีใหม่ เป็นวิธีสอนใหม่รวมทั้งการนำเสนอด้วยสื่อใหม่ๆและมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วย

สรุปได้ว่า

นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำเอาสิ่งใหม่ๆและแนวคิดใหม่ๆเข้ามาในระบบเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมและนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นสามารถนำมาแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง

บุญเกื้อ ควรหาเวช. ( 2542 ) นวัตกรรมการศึกษา,กรุงเทพมหานคร,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมหญิง เจริญจิตรกรรม. ( 2525 ) เทคโนโลยีการศึกษาเบื้องต้น,กรุงเทพมหานคร,

มหาวิทยาลัยศิลปากร

อริศรา ชูชาติ. ( 2549 ) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติรูปการศึกษา,กรุงเทพมหานคร,

โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์